• Welcome to ลงประกาศฟรี โปรโมทเว็บ SEO SMF PBN.
 


ข้อควรรู้ ปวดสะโพกร้าวลงขา สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

Started by kaidee20, Jun 26, 2025, 07:42 AM

Previous topic - Next topic

kaidee20

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) จะมีการปวดจากเอว สะโพก และร้าวลงขาด้านหลัง จนถึงน่องหรือปลายเท้า ตามทางเดินของเส้นประสาทขา (Sciatic nerve) โดยอาการจะคล้ายไฟฟ้าช็อต ชา ซ่า และกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาการปวดมักแย่ลง เมื่อนั่งนาน ๆ ไอ จาม หรือเบ่งถ่าย


อย่างไรก็ตาม แต่ละคนก็มีปัจจัยเสี่ยง ในการเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้ จะมาแนะนำ 7 อาการปวดสะโพกร้าวลงขา สาเหตุทั้งหมดเกิดจากอะไรได้บ้าง หากพร้อมแล้ว เราไปดูกันได้เลย


การจัดกระดูก (Chiropractic) คืออะไร ? ช่วยแก้ปัญหาด้านใดบ้าง



[ol]
  • อายุ
[/ol]
เริ่มกันที่ปัจจัยเสี่ยงแรก นั่นก็คืออายุ โดยอาการปวดสะโพกร้าวลงขา มักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจาก เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งอาจเสื่อมสภาพ หรือสูญเสียความยืดหยุ่น
[ol]
  • น้ำหนักตัว
[/ol]
ปัจจัยเสี่ยงถัดมาคือน้ำหนักตัว ถือเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของกระดูกและข้อ หากน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจทำให้เกิดแรงกดทับที่เพิ่มขึ้นบริเวณกระดูกสันหลัง อาจส่งผลให้กระดูกสันหลังเปลี่ยนรูป หรือหมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วกว่าปกติ
[ol]
  • อาชีพ
[/ol]
สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องแบกของหนัก หรือทำงานที่ใช้แรงกายเป็นเวลานาน เช่น กรรมกร พนักงานยกของ หรือแม้แต่นักกีฬาบางประเภท ล้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดชนิดนี้ได้ เนื่องจาก การยกของหนักโดยไม่ระมัดระวัง ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก 
[ol]
  • ท่าทางการนั่งหรือยืน
[/ol]
การนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการนั่งไขว่ห้าง ห่อไหล่ หรือยืนโน้มตัวไปข้างหน้า ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และกระดูกสันหลังเกิดแรงกดทับมากขึ้น ทำให้เส้นประสาท Sciatica ถูกกดทับได้






[ol]
  • การสูบบุหรี่
[/ol]
อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยง ที่นำไปสู่อาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้ก็คือ การสูบบุหรี่ เนื่องจาก สารนิโคตินในบุหรี่จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ
[ol]
  • โรคประจำตัวบางชนิด
[/ol]
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับระบบประสาท อาจมีความเสี่ยงต่ออาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้มากขึ้น เนื่องจาก การทำงานของระบบประสาทอาจไม่สมบูรณ์
[ol]
  • การออกกำลังกาย
[/ol]
แม้ว่าการออกกำลังกาย จะมีประโยชน์ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไป หรือเกิดการบาดเจ็บระหว่างการออกกำลังกาย โดยเฉพาะในบริเวณก้นหรือสะโพก อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหายได้ 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://aligncityclinic.com/